Translate

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556


ประวัติผ้าบาติก



 ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ  เป็นคำที่เรียกผ้าชนิดที่มีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม  ระบาย  หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน  แต้มสี ระบายสี  และย้อมสีนับสิบๆครั้ง  ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
                 คำว่าบาติก ( Batik) หรือ ปาเต๊ะ” ( Batek) มาจากคำว่า Ba =  Art  และ  Tik = จุด เดิมเป็นคำในภาษาชวา  ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด  คำว่า ติก” มีความหมายว่า  เล็กน้อยหรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า  ตริติก  หรือตาริติก  ดังนั้นคำว่า  บาติก  จึงมีความหมายว่าเป็นงานศิลปะบนผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดด่างๆ
                   วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (Wax  writing /Wax hand draw)  ดังนั้น  ผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี  และใช้วิธีระบาย  แต้มและย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี  แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตามแต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติก  ก็คือ  จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก


แหล่งกำเนิด
                     แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรป หลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย  อีกหลายคนเชื่อว่ามาจากอียิปหรือเปอร์เซีย
                      แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศอื่นๆ  ทั้งอียิปต์  อินเดีย  และญี่ปุ่น แต่บางคนก็ยังเชื่อว่า  ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย  และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนการทำผ้าบาติก  เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย  สีที่ใช้ย้อมก็เป็นพืชที่มีในประเทศอินโดนีเซีย  แท่งขี้ผึ้งที่ใช้เขียนลายก็เป็นของอินโดนีเซีย   ไม่เคยมีในอินเดียเลย  เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย  และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J. Kron   นักประวัติศาสตร์ชาวดัทช์ ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะ เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย

                 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือบุหงารำไป
หน้า 1ไว้ว่า   แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่นๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกัน   ตามวิธีการทำผ้าของชาติต่างๆ  ที่จะให้มีลวดลายสีสันผ้าบาติกของอินโดนีเซียก็น่าจะ มีกำเนิดในอินโดนีเซียเอง  คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่นๆส่วนการทำผ้าโปร่งบาติกนั้นคงมีกำเนิดจากอินโดนีเซีย ค่อนข้างแน่นอน

วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย
                การทำผ้าบาติกในระยะเวลาแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง  หรือทำเฉพาะในวัง  แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า  น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ  ผู้ที่ทำผ้าบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา
                ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติกด้านการแก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ก็วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม   ในคริสต์ศตวรรษที่ 13  การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่านและถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก  โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต  ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า “คราทอน”(Karton) เป็นผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือ( Batik Tulis )  แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกได้ขยายวงกว้าง มากขึ้นการผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลงศิลปะการทำผ้าบาติก  ได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป
               ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว  ในศตวรรษที่ 17 ได้มีการค้นพบสีต่างๆอีก เช่น สีแดง   สีน้ำตาล   สีเหลือง   สีต่างๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น   ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ทำให้ออกมาเป็นสีต่างๆ   ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง   สีเขียว   และสีอื่นๆ อีกในระยะปลายศตวรรษที่ 17 ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา   นับเป็นความก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่งโดยเฉพาะเทคนิคการระบายสีผ้าบาติก  เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อมการระบายสี ซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติได้จำนวนมากขึ้นและได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจนกลายเป็นสินค้าออกในปี ค.. 1830  ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวาและได้ส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาในปี ค.. 1940  ชาวอังกฤษก็ได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น  เพื่อส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาเช่นเดียวกัน
              ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา   ได้มีการทำเครื่องหมายในการพิมพ์ผ้าบาติกโดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดง   ซึ่งเรียกว่า “จั๊บ”(Cap) ทำให้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น  ต้นทุนก็ถูกลงทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม  การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของอุตสาหกรรมในครัวเรือน  ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น  การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว  เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี  สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรี เช่นเดิม
              ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเกาะชวา  เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็กเท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็น เครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี ชนิด คือ
             1.โสร่ง  (Sarong) เป็นผ้าที่ใช้นุ่ง โดยการพันรอบตัว  ขนาดของผ้าโสร่งโดยทั่วไปนิยมผ้าหน้ากว้าง42 นิ้ว  ยาว หลาครึ่ง  ถึง 3 หลาครึ่ง  ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษคือ ส่วนที่เรียกว่า ”ปาเต๊ะ”  หมายถึง ส่วนที่เรียกว่า หัวผ้า  โดยมีลวดลาย สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่นๆในผ้าผืนเดียวกัน
             2. สลินดัง  (Salindang)  เป็นผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า  “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับหรือชายผ้าสลินดังมีความยาวประมาณ  หลา กว้างประมาณ นิ้ว สตรีนิยมนำผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
               3. อุเด็ง  (Udeng)  หรือผ้าคลุมศีรษะ  โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า ”ซุรบาน”สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศีรษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า ”เกิมเบ็น” (Kemben)  ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม  ผ้าคลุมชนิดนี้ไม่ปิดบ่าและไหล่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนักเพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
                สำหรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นโดยใช้ผ้าหน้ากว้าง  42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆ ได้มีการใช้ผ้าบาติกนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ   สตรี  เด็ก  ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาการด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจ ต่างชาติได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก  ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู่ประเทศอื่นๆอย่างกว้างขวาง

                ในประเทศไทยได้มีการทำผ้าบาติกลายพิมพ์เทียนมาก่อนในปี พ.. 2483 ที่อำเภอสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส โดยสองสามี-ภรรยาชาวไทยเชื้อสายมลายูชื่อ นายแวมะ  แวอาลี (ปัจจุบันท่านได้ถึงแก่กรรม) และนางแวเย๊าะ  แวอาแด  ในยุคแรกได้ผลิตเป็นผ้าคลุมหัวสไบไหล่(Kain lepas)โดยใช้วิธีแกะสลักลวดลายบนมันเทศและมันสำปะหลังมาทำเป็นแม่พิมพ์ ต่อมาได้ผลิตในรูปแบบของผ้าโสร่งปาเต๊ะ(Batik Sarong)โดยใช้แม่พิมพ์โลหะที่ผลิตในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในแถบ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  ต่อมาภายหลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทส่งเสริมและเผยแพร่การทำผ้าบาติกพื้นฐานตามแนวเทคนิคของกรมส่งเสริมฯ ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมใช้โซดาแอสเป็นสารกันสีตก  ทางภาคเหนือของไทยได้มีการทำผ้าบาติกมานาน จะรู้จักในนามผ้าบาติกใยกัญชาย้อมด้วยสีอินดิโก้ เพียงสีเดียวโดยฝีมือของชาวเขาเผ่าม้งในภาคเหนือ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะได้รับอิทธิพลศิลปะบาติกจากประเทศจีนตอนใต้

                ปลายปี .. 2523  ประเทศไทยได้ถือกำเนิด ผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี” (Painting Batik)ซึ่งเป็นผ้าติกที่เขียนลายเทียนด้วยจันติ้ง (Cantimg) ระบายสีลวดลายบนผืนผ้าทั้งผืนด้วยพู่กัน ไม่มีการย้อมสีโดยใช้สี REACTIVE DYES  จากประเทศมาเลเซีย ผลิตในเยอรมันแล้วเคลือบกันสีตด้วยโซเดียมซิลิเกตเป็นสารกันสีตกแบบถาวร โดย  นายเอกสรรค์  อังคารวัลย์   เป็นคนแรกที่ได้นำวิธิการทำผ้าบาติกแบบระบายมาเผยแพร่วิธีการทำผ้าบาติกแนวใหม่นี้ โดยศึกษามาจากประเทศมาเลเซีย และได้เผยแพร่เป็นวิทยาธารเพื่อการศึกษาครั้งแรกแก่คณาจารย์ภาควิชาศิลปะ คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์  วิทยาลัยครูยะลา(ผศ.นันทา  โรจนอุดมศาสตร์ เป็นหัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น)   ตั้งแต่ปี พ.. 2523  ได้มีการสอนการทำผ้าบาติกแก่นักศึกษาวิทยาลัยครูยะลาในเรื่องบาติกลายเขียนและบาติกย้อมสี
              พ.. 2524    วิทยาลัยครูยะลา (โดย ผศ. นันทา  โรจนอุดมศาสตร์ )ได้เริ่มทดลองทำผ้าบาติกลายเขียนระบายสี และสอนการทำผ้าบาติกเป็นกิจกรรมในรายวิชาเลือกของหลักสูตร ปกส.สูง  วิชาเอกศิลปกรรม
              พ.. 2525    สอนการทำผ้าบาติกในรายวิชาศิลปะพื้นบ้าน ในระดับปริญญาตรีศิลปศึกษา  และได้ทำการสอนต่อมาในรายวิชาบาติก วิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ ระดับอนุปริญญาจนถึงปัจจุบัน  วิทยาลัยครูยะลาได้ทำการเผยแพร่ความรู้ทางด้านบาติแก่ชุมชน โดยเขียนเป็นบทความลงหนังสือพิมพ์ วารสาร และทางสถานีโทรทัศน์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมและจัดนิทรรศการเผยแพร่ การทำผ้าบาติกทั้งลายเขียนและลายพิมพ์ ตามช่วงระยะเวลาดังนี้
              กันยายน  พ..  2527    ร่วมแสดงนิทรรศการผ้าบาติก และสาธิตในงาน “กระจูด” ณ จังหวัดนราธิวาส จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการแสดงเทคนิคการทำบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก
              เมษายน   พ..  2528    ร่วมจัดนิทรรศการและสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสีและบาติกลายพิมพ์ ในงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านทั่วประเทศ ณ จังหวัดภูเก็ต(เป็นช่วงเวลาที่บาติกลายเขียนเทียนเริ่มเข้าจังหวัดภูเก็ตเป็นครั้งแรก โดยมี .ชูชาติ  ระวิจันทร์(ลุงชู) อาจารย์หัวหน้าคณะภาควิชาเอกศิลปกรรม วิทยาลัยครูภูเก็ตขณะนั้นเป็นผู้สืบสานต่อในจังหวัดแถบทะเลอันดามัน (ปัจจุบันท่านได้ถึงแก่กรรม)
            พฤษภาคม   พ..  2529   ร่วมจัดนิทรรศการ และสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ในงานมหกรรม ศิลปวัฒนธรรมทั่วประเทศ ณ วิทยาลัยครูเชียงใหม่
           พ..  2531   ร่วมจัดนิทรรศการ และสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ณ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร

            นอกจากนี้วิทยาลัยครูยะลา (โดย ผศ. นันทา  โรจนอุดมศาสตร์ ) ยังได้เดินทางไปจัดนิทรรศการ และสาธิตในกรุงเทพมหานครอีกหลายครั้ง อันมีผลทำให้บาติกลายเขียนเทียนระบายสีเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศมาจนถึงปัจจุบันนี้





การทำผ้าบาติกที่สวยงาม
ของอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี




ผ้าบาติกมีผู้คนสนใจมาก เพราะเป็นผ้าที่มีคุณภาพ ไม่ซ้ำแบบใครส่วนมาผู้ที่ทำงานข้าราชการชอบมาสั่งตัดเป็นทีมงาน  ใส่แล้วสบาย สวยงาม หาซื้อได้ง่าย มีอยู่ทุกที่






อุปกรณ์


อุปกรณ์ในการทำผ้าบาติก




รักษาเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีด้วย เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิต ในขณะเดียวกันก็จะสามารถหาทางป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ การทำผ้าบาติก โดยทั่วไปมีกรรมวิธีที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก หลักการง่ายๆ คือ กันด้วยเทียน ระบายสีและต้มเทียนออกก็จะเสร็จกระบวนการ แต่การจะทำบาติกให้ได้ดี จะต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะตามขั้นตอน ต้องละเอียด พิถีพิถันผลงานที่สำเร็จออกมาจึงจะมีคุณภาพ การทำบาติกสามารถแยก กระบวนการ

ผลิตเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1.การเตรียมผ้า
2.การเตรียมเทียนการทำผ้าบาติก เครื่องมือต้องเตรียมให้พร้อมก่อนจะลงมือทำเพราะถ้าขาดวัสดุอุปกรณ์ในขั้นตอนใด อาจทำให้งานที่ได้ดำเนินไปแล้วเสียหายได้ และควรศึกษาวิธีการใช้ การดูแล
3.การเขียนเทียน
4.การระบายสี
5.การลงซิลิเกต

6.การลอกเทียนออกจากผ้า (การต้มผ้า)




ลายผ้าบาติกที่นิยมมาก



ลายเขาวังเพชรบุรี

ลายต้นตาลเพชรบุรี

ลายดอกไม้





  
























บทสัมภาษณ์ การถอดบทสัมภาษณ์



 บทสัมภาษณ์
การถอดบทสัมภาษณ์





1.ชื่อ คุณประทีป สุริโย หน้าที่ ผู้จัดทำผ้าบาติก
สวัสดีค่ะ  คุณประทีป สุริโย หรือเรียกสั้นๆว่า ป้าทีป เราจะรู้จักป้าทีปได้ที่ ตำบลหัวครั้ง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งป้าทีปนั้นเป็นคนที่ทำผ้าบาติก ก่อนที่ป้าทีปจะมาทำผ้าบาติกนั้นเขาเคยทำงานโรงงานมาก่อน เขาโดนไร่ออกจึงหันมาทำผ้าบาติกแล้วได้รายได้ดีจึงทำงานนี้ต่อไป ป้าทีปนั้นมุ่งมั่นต่อการทำผ้าบาติกมาก ซึ่งลูกจ้างของเขาก็ไม่มีเลยมีแค่คนเดียวคือพี่ฝนทั้ง2คนนี้ขยันมาก อยากจะถามป้าทีปว่า

1 เพราะเหตุใดจึงทำผ้าบาติก
-จากคุณป้าให้คำสัมภาษณ์ว่า ตอนแรกอยากหารายได้เสริมให้กับครอบครัว พอทำไปได้ผลตอบรับจากลูกค้าดี ผ้าดีสีไม่ไม่ตก คือลูกค้าติดใจ ลวดลายสวยไม่ซ้ำแบบ เช่นอย่างลายเขาวังเพชรบุรี   ลายสัก ลายต้นตาล หรือว่าลายที่เขาวาดแบบมาให้ จึงตั้งเป็นกิจการของตัวเอง

2 ความคิดที่ทำผ้าบาติกได้มาจากไหนและนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
-จากคุณป้าให้คำสัมภาษณ์ว่า ความคิดที่จะทำผ้าบาติก คือ ป้าได้ความคิดมาจาก อาจารย์ ศรี คุณวรรณ   อังคารวรรณ  จากบริษัท ทำสีผ้าบาติก เมื่อผลตอบรับจากลูกค้าดี เราจึงคิดทำผ้าบาติกลายเพชรบุรีขึ้น เช่น ลายเขาวัง ลายดอกลีลาวดี เราได้ไปเรียนเพิ่มเติมที่บริษัทโยฮัน ผ้าบาติกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ คือ ส่วนใหญ่ตัดเป็นเสื้อ ลูกค้าส่วนมากคือ ข้าราชการ นำไปตัดเสื้อซาฟารี ตัดชุดแซก หรือนำไปตัดชุดเป็นทีม

2.  ชื่อ คุณน้ำฝน สุริโย หน้าที่ ผู้ช่วยทำผ้าบาติก




                 สวัสดีค่ะ  คุณน้ำฝน สุริโย หรือเรียกสั้นๆว่า พี่ฝน เป็นผู้ช่วยของป้าทีป พี่ฝนจะทำหน้าที่แกะลาย หรือทำสีผ้านั่นเอง ผ้าที่จะทำก็คือ ลายเขาวังพชรบุรี ลายดอกไม้ หรือไม่ก็ลายที่ลูกค้าสั่งพี่ฝนจะคอยแนะนำวิธีทำผ้าบาติกต่างๆให้ลูกค้าดู หรือไม่คนที่สนใจก็เข้ามาดูงานเยอะ ก่อนที่พี่ฝนจะมาทำงานตรงนี้นั้นพี่ฝนได้ฝึกมาจากป้าทีป จึงได้มาทำเป็นกิจการทุกวันนี้ รายได้จากการทำผ้าบาติกนี้ พี่ฝนบอกว่าได้ไม่เยอะมาก เพราะจะต้องทำผ้าที่เราทำเสร็จแล้วไปให้เขาตัดเป็นชุด เพราะเราไม่สามารถตัดเองได้ ลูกจ้างของเราไม่มี มีแค่พี่ฝนกับป้าทีปเท่านั้น และการทำผ้าบาติกนั้นมันก็ไม่ง่ายเท่าไร คนที่มาสมัครงานก็ทำได้แค่วันเดียวแล้วก็ไม่มาทำอีกเลย เพราะเขาทำไม่ได้และมันก็ทำยากด้วย  และผ้าบาติกของเราก็ได้รับยกย่องให้เป็นผ้าบาติกที่มีความสวยงามไม่ซ้ำซาก ลวดลายเยอะมาก ให้เป็นสินค้าO-TOT ของอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีด้วย






















วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้สัญญาอนุญาต Creative Commons

การใช้สัญญาอนุญาต Creative Commons
การทดลองใช้เครื่องมือ




หลานของเขาเองน่ารักไหมชื่อน้องตะวันและน้องตัง ตัง
 คิดถึงฝุด ฝุด อยากกลับไปหา

Creative Commons License
หลานตัวน้อย by ตัง ตัง ตะวัน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556







             การทำผ้าบาติกนั้นทำไม่ยากและก็ไม่ง่าย ที่ยากที่สุดก็คือ การเขียนลาย มีอยู่หลายลายมีทั้ง ลายเขาวัง ลายต้นตาล และลายดอกไม้

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สวัสดีค่ะ
ยินดีเข้าสู่บล็อก ผ้าบาติก ของจังหวัดเพชรบุรี
เป็นบล็อกที่นำเสนอเกี่ยวกับ การทำผ้าบาติก วิธีเขียนลายเขาวัง
นี่เป็นส่วนหนึ่งของการทำผ้าบาติก
นั้นเราไปดูวิธีการทำกัเลย
ไปติดตามกันเลยยยยยยยยยยย????????



นู๋จา ผ้าบาติก











       



เกี่ยวกับผู้เขียน

ชื่อ : ขวัญเรือน ทองแดงดี
รหัส : 5501676
กลุ่ม : 04
ไปยัง googla